.

.

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขออนุญาตท่องเที่ยว


1. อนุญาตธุรกิจนำเที่ยว "ธุรกิจนำเที่ยว" ได้แก่ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมุ่งหมายถึง "การนำเที่ยว" เป็นสำคัญ และต้องมีการติดต่อโดยตรงกับนักท่องเที่ยวเพื่อจัดบริการไปท่องเที่ยว ณ สถานที่ต่าง ๆ ส่วนจะมีการบริการด้านการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร หรือมัคคุเทศก์ด้วยหรือไม่ หรือมีมากน้อยเพียงใด ก็เป็นส่วนหนึ่งของ "การนำเที่ยว" เท่านั้น และดำเนินการในเชิงธุรกิจ แต่ไม่รวมถึงธุรกิจให้เช่ายานพาหนะ เพื่อการเดินทางธุรกิจรับจ้างขนส่งผู้เดินทาง ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจร้านอาหาร การไปทอดกฐิน การไปทอดผ้าป่า และการทัศนศึกษาเป็นครั้งคราว

2. ประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว         ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว แบ่งเป็น 3 ประเภท
        1. เฉพาะพื้นที่ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่ใดในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใดที่สำนักงานตั้งอยู่และจังหวัดที่
มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น
         2. ในประเทศ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดภายในราชอาณาจักร (Domestic)
         3. ต่างประเทศ ได้แก่ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดในต่างประเทศ(Outbound) หรือนำเที่ยวให้
กับนักทอ่งเที่ยวจากต่างประเทศไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดภายในประเทศ (Inbound) และรวมถึงการนำเที่ยวไปยัง
สถานที่หนึ่งสถานีใดในราชอาณาจักร (Domestic) ด้วย

3. คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว         3.1 บุคคลธรรมดา
        (ก) สัญชาติไทย
        (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
        (ค) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
        (ง) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
        (จ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
        (ฉ) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความ
ผิดลหุโทษ       
       (ช) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
       (ซ) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

3.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญจดทะเบียน
(ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
(ข) มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ค) ทุนของห้างหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย
(ง) หุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการต้องมีสัญชาติไทย
(จ) หุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียว กับคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาในข้อ3.1 (ข) (ค) (ง)
(จ) (ฉ) (ช) และ (ซ)
(ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(ช) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


3.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
(ข) มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ค) ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย
(ง) ทุนของห้างหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย
(จ) หุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาในข้อ 3.1 (ข)(ค)(ง)(จ)
(ฉ)(ช) และ (ซ)
(ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(ช) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


3.4 บริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัด
(ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
(ข) มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ค) กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องสัญชาติไทย
(ง) ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสัญชาติไทย
(จ) ต้องไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
(ฉ) กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาในข้อ 3.1
(ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) และ (ซ)
(ช) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(ซ) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 

4. กรณีประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมีกิจกรรมดำน้ำแบบสคูบ้าด้วย
นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ3 แล้วจะต้องปฏิบัติตามกำหนดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) ต้องใช้เรือที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า
2) ต้องได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ในกรณีที่ดำเนินการในเขตอุทยานแห่งชาติ
3) ใช้อุปกรณ์ในการดำน้ำที่มีนิติบุคคลให้การรับรองมาตรฐาน
4) จุดที่ลงดำน้ำต้องเป็นบริเวณที่กรมเจ้าท่าหรือกรมป่าไม้ (กรณีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ)เป็นผู้กำหนดจุดวางทุ่นจอดเรือ
5) ห้ามทอดสมอเรือในเขตปะการังโดยผู้รับใบอนุญาตต้องทำทุ่นจอดเรือตามแบบที่กรมเจ้าท่ากำหนด
6) ต้องมีผู้ควบคุมการดำน้ำ (Dive Master) หรือผู้สอนการดำน้ำ (Dive Instructor) ซึ่งมีใบอนุญาตควบคุมหรือสอนการดำน้ำ
ตามมาตรฐานสากลในระหว่างการดำน้ำ
7) ผู้ดำน้ำต้องมีใบอนุญาตการดำน้ำตามมาตรฐานสากล
8) ต้องมีถังออกซิเจนสำรอง และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ดำน้ำ (First Aid Equipment) ประจำเรือ
9) ต้องทำประกันให้แก่ผู้ดำน้ำคนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต้องมีวิทยุสื่อสาร และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินประจำเรือ
10) ห้ามมิให้มีการเก็บ หักทำลาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งรวมทั้งการห้าม
ทิ้งสิ่งของ ของเสีย หรือปล่อยน้ำมันลงสู่ทะเล
11) ต้องปฏิบัติต่อนักท่องเที่ยวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในศีลธรรมอันดี

5. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
5.1 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
5.1.1 บุคคลธรรมดา
ก) แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ ของผู้
ประกอบการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
(ค) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
(ง) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.ม. จำนวน 2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
(จ) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ฉ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
(ช) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
ได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

5.1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) แบบคำขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว
(ข) เอกสารรายชื่อ สัญชาติ จำนวนหุ้น ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รับรองความถูกต้อง โดยหุ้นส่วนผู้มีอำนาจ
(ค) ภาพถ่ายถ่ายประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐหรือใบ
สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน พร้อมรับรองสำเนาถูก
ต้อง และต้นฉบับ
(ง) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน กรณีเป็นคนต่างด้าวต้องแสดงใบอนุญาตการทำงานในประเทศ
ไทย (Work Permit) หรือหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งรับรองโดยหุ้นส่วนผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนา
ถูกต้อง และต้นฉบับ
(จ) ตัวอย่างรอยตราประทับ (ถ้ามี) พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ฉ) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซม. x 12.70 ซม. จำนวน 2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ช) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับ รองความถูกต้อง
(ซ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
(ฌ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ


5.1.3 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน แสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ สถานที่ตั้งสำนักงาน
แห่งใหญ่ และสาขา (ถ้ามี) พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่าประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ค) รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (หส.2) ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการจด
ทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข (หส.3) ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(ง) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐหรือใบ
สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพัน
ห้างทุกคน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ
(จ) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน กรณีเป็นคน ต่างด้าว ต้องแสดงใบอนุญาตการทำงานใน
ประเทศไทย (Work Permit) หรือหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งรับรอบโดยหุ้นส่วนผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
(ฉ) ตัวอย่างรอยตราประทับ ซึ่งต้องเป็นตราที่ได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ช) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด 7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.ม. จำนวน 2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ซ) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อม รับรองความถูกต้อง
(ฌ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนัก งาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
(ญ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
ได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

5.1.4 บริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัด
(ก) แบบคำขอใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว
(ข) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน แสดงการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
หรือบริษัทมหาชน จำกัดฉบับระบุรายชื่ออำนาจของ กรรมการของบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสาขา
(ถ้ามี) พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่าประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตร ประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐหรือใบ
สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (Passport) ของกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันกับ
บริษัททุกคน พร้อมรับรองสำเนาถูก ต้องและต้นฉบับ
(ง) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจทุกคน กรณีเป็นคนต่างด้าวต้องแสดงใบอนุญาตการทำงานใน
ประเทศไทย (Work Permit) หรือหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับ
รองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
(จ) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ปีปัจจุบัน (บัญชีรายชื่ผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะต้องส่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็น
ประจำทุกปี ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น) ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(ฉ) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท
(ช) ข้อบังคับของบริษัท หรือรายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ. 3) หรือรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท ฉบับรับรองโดย
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(ซ) ตัวอย่างรอยตราประทับ ซึ่งต้องเป็นตราที่ได้จดทะเบียนไว้กับ กระทรวงพาณิชย์ พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ฌ) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.ม.จำนวน2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ญ) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองความถูกต้อง
(ฎ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนัก งาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้ สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
(ฏ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
ได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

6. เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมีกิจกรรมดำน้ำแบบสคูบ้าด้วย
นอกจากจะต้องมีเอกสารตามข้อ 5 แล้วจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
(ก) ภาพถ่ายใบทะเบียนเรือไทย จากกรมเจ้าท่า
(ข) ภาพถ่ายหนังสืออนุญาตจากกรมป่าไม้ กรณีดำเนินการในเขตอุทยานแห่งชาติ
(ค) เอกสารรับรองอุปกรณ์ในการดำน้ำจากนิติบุคคล
(ง) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมการดำน้ำ (Dive Master) หรือผู้สอนการดำน้ำ (Dive Instructor) ตามมาตรฐานสากล
(จ) ภาพถ่ายกรมธรรม์
(ฉ) ภาพถ่ายใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม/ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

7. การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
การพิจารณาออกใบอนุญาตนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ นอกจากจะเป็นไปตามกฎหมายกำหนดแล้ว คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ยังได้กำหนดอำนาจของนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวเพิ่มเติมไว้ว่า "ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายใด ถ้าผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น เป็นต้น ปรากฏว่า มีชื่อเป็นผู้เคยเกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเที่ยวที่เคยถูกหักหลักประกันชดใช้ค่าเสียหาย และปิดกิจการไปรวมอยู่ด้วย ไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้ ทั้งนี้ จะพิจารณาให้ต่อเมื่อระยะเวลาได้ล่วงเลยไปแล้ว 3 ปี"

8. ค่าธรรมเนียมและหลักประกันใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและวางหลักประกันตามอัตราดังนี้
ก. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
(ก) เฉพาะพื้นที่ ฉบับละ 100 บาท
(ข) ในประเทศ ฉบับละ 300 บาท
(ค) ต่างประเทศ ฉบับละ 500 บาท
ข. หลักประกัน
(ก) เฉพาะพื้นที่ ต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
(ข) ในประเทศ ต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท
(ค) ต่างประเทศ ต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท
เว้นแต่มิได้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ไปยังสถานที่หนึ่งที่ใดในต่างประเทศต้องวางหลักประกัน 100,000 บาท
ค. ประเภทของหลักประกัน
(ก) เงินสด
(ข) หนังสือค้ำประกันของธนาคาร
(ค) พันธบัตรรัฐบาลไทย ชนิดที่ขายคืนได้ก่อนครบกำหนดชำระเงิน
(ง) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไทยค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย ชนิดที่ขายคืนได้ก่อนครบกำหนดชำระต้นเงิน

9. อายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต 
10. การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
10.1 การต่ออายุ
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องขอต่ออายุใบอนุญาต ภายใน 120 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหากไม่ขอต่ออายุต้องเลิกประกอบธุรกิจนำเที่ยวนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ และต้องคืนใบอนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุเช่นเดียวกัน หากไม่คืนจะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท 
10.2 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ก) แบบคำขอต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
(ค) เอกสารรายชื่อ สัญชาติ จำนวนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รับรองความถูกต้องโดยหุ้นส่วนผู้มีอำนาจ (กรณีเป็น
ห้างหุ้นส่วนสามัญ)
(ง) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือนแสดงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัด
การของห้างฯหรือกรรมการของบริษัทสถานที่ตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ และสาขา (ถ้ามี) พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุ
ว่าประกอบธุรกิจนำเที่ยว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(จ) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐหรือใบ
สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการของห้างฯหรือกรรมการที่มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันห้างฯหรือบริษัททุกคนและใบอนุญาตการทำงานใน ประเทศไทย (Work Permit) หรือหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งรับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการของห้างหรือกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
(ฉ) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ปีปัจจุบัน (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะต้องส่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็น
ประจำทุกปี ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น) ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีเป็นบริษัทจำกัดหรือ
บริษัทมหาชนจำกัด)
(ช) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม ถ้าเอกสารเดิม
หมดอายุ
(ซ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
ได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ 
10.3 ค่าธรรมเนียมและหลักประกัน
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและวางหลักประกันตามอัตราดังนี้
10.3.1 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
(ก) เฉพาะพื้นที่ ฉบับละ 100 บาท
(ข) ในประเทศ ฉบับละ 300 บาท
(ค) ต่างประเทศ ฉบับละ 500 บาท 
10.3.2 หลักประกัน
กรณีหลักประกันเดิมเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะให้ธนาคารมีหนังสือต่ออายุหนังสือค้ำประกันเดิมออกไปอีกก็ได้ แต่ต้องกำหนดวันหมดอายุของหนังสือค้ำประกันออกไปไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ

11. การเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอเปลี่ยนแปลงรายการ
11.1 กรณีเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานประกอบการ
1) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว
2) ต้นฉบับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
3) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือนแสดงถึงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัดการ
ของห้างฯหรือของกรรมการผู้จัดการสถานที่ตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ และสาขา (ถ้ามี)พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่า
ประกอบธุรกิจนำเที่ยว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
4) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.ม จำนวน 2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
5) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองความถูกต้อง
6) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
7) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

11.2 กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ
1) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว
2) ต้นฉบับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
3) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือนแสดงถึงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัดการ
ของห้างฯหรือกรรมการผู้จัดการสถานที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ และสาขา (ถ้ามี)พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่าประกอบ
ธุรกิจนำเที่ยว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
4) หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติม รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
5) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.มจำนวน2 รูป พร้อมรับรองความถูกต้อง
6) ตัวอย่างรอยตราประทับ (ถ้ามี) พร้อมรับรองความถูกต้อง
7) กรณีวางหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ต้องมีหนังสือของธนาคารยืนยันความรับผิดชอบในชื่อใหม่
(กรณีเป็นนิติบุคคลหรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ)
8) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

11.3 กรณีเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจ
1) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว
2) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
3) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือนแสดงถึงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัดการ
ของห้างฯหรือกรรมการผู้จัดการสถานที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ และสาขา (ถ้ามี)พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่าประกอบ
ธุรกิจนำเที่ยว
4) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐหรือใบ
สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง (Passport) ของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้จัดการของห้างฯหรือ
กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันห้างหรือบริษัททุกคนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
5) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการของห้างฯหรือกรรมการผู้มีอำนาจทุกคน กรณีเป็นคน
ต่างด้าวต้องแสดงใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย (Work Permit) หรือหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่ง
รับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการของห้างฯหรือกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และต้นฉบับ
6) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

11.4 กรณีเปลี่ยนเปลงทุนจดทะเบียน
1) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว
2) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน แสดงถึงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัดการของห้างฯ หรือกรรมการผู้จัดการสถานที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ และสาขา (ถ้ามี) พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่าประกอบธุรกิจนำเที่ยว
3) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ปีปัจจุบัน (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะต้องส่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็น
ประทุกจำปี ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น)ฉบับรับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีเป็นบริษัทจำกัดหรือ
บริษัทมหาชนจำกัด)
4) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรอง สำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

11.5 กรณีเปลี่ยนแปลงประเภทใบอนุญาต (จากต่ำไปสูง)
1) แจ้งเลิกกิจการ
2) ยื่นแบบคำขอใหม่
11.6 กรณีเปลี่ยนแปลงหลักประกัน (เฉพาะกรณีขอต่ออายุ)
1) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว
2) หนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงหลักประกัน
3) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชนได้
ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

12. การขอใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ถ้าใบอนุญาตชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
12.1 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
12.1.1 กรณีชำรุดหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ
(ก) แบบค่าขอใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ชำรุดหรือถูกทำลายในสาระ สำคัญ
(ค) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตร
ประชาชนได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ
12.1.2 กรณีสูญหาย
(ก) แบบคำขอใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจ
(ค) หลักฐานการแจ้งความของพนักงานสอบสวน
(ง) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตร
ประชาชนได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ

13. การขอคืนหลักประกัน
13.1 สาเหตุการขอคืนหลักประกัน
13.1.1 กรณีเลิกประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ให้แจ้งเลิกและขอคืนหลักประกันล่วง หน้า ก่อนเลิกประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่น้อยกว่า 30 วัน
13.1.2 กรณีต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ทันตามกำหนด
ให้แจ้งในวันที่ใบอนุญาตหมดอายุ หรือภายหลังจากใบอนุญาตหมดอายุ
13.1.3 กรณียื่นต่ออายุ แต่นายทะเบียนแจ้งยกเลิกการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเนื่องจากไม่รับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจนำเที่ยวภายในกำหนด หรือเอกสารประกอบยื่นไม่ครบถ้วนให้แจ้งในวันที่นายทะเบียนออก
หนังสือแจ้ง
13.2 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอคืนหลักประกัน
13.2.1 มีหนังสือแจ้งเลิกประกอบธุรกิจนำเที่ยวและ/หรือขอคืนหลักประกัน โดยระบุข้อความ "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าไม่มี
เรื่องร้องเรียนหรือไม่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีหรือไม่มีหนี้เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวที่จะต้องชำระให้แก่นักท่อง
เที่ยว และ/หรือ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว"
13.2.2 ต้นฉบับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือต้นฉบับใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
13.2.3 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชา
ชนได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ



14. การขอใบอนุญาตสาขา
14.1 การยื่นขอใบอนุญาตสาขา กระทำได้ 2 วิธีคือ
14.2.1 ยื่นในวันเวลาเดียวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวของสำนักงานใหญ่
14.2.2 ยื่นเพิ่มเติมภายหลัง
14.2 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอใบอนุญาตสาขา
(ก) แบบคำขอเปลี่ยนแปลงรายการสำหรับธุรกิจนำเที่ยว (กรณียื่นเพิ่มเติมภายหลัง)
(ข) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งรับรองไว้ไม่เกิน 6 เดือน แสดงถึงการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ฉบับระบุรายชื่ออำนาจของผู้จัด
การของห้างฯ หรือกรรมการผู้จัดการสถานที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ และสาขา (ถ้ามี) พร้อมวัตถุที่ประสงค์ที่ระบุว่า
ประกอบธุรกิจนำเที่ยว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(ค) รูปถ่ายภายนอกด้านหน้าของอาคารสำนักงาน ขนาด7.60 ซ.ม. x 12.70 ซ.ม แห่งละจำนวน2 รูป พร้อมรับรองความ
ถูกต้อง
(ง) แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พร้อมรับรองความถูกต้อง
(จ) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน เช่น สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่า หรือ
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้คำยินยอม
(ฉ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
ได้ของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและต้นฉบับ
หมายเหตุ : - หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
- ผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- เอกสารเฉพาะตัวของบุคคลใด ให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารของนิติบุคคลที่รับรองโดยหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องใช้ต้นฉบับที่ทางราชการประทับตรารับรอง
ยื่นประกอบคำขอ
- ภาพถ่ายเอกสารของนิติบุคคล อาทิ สัญญาเช่า ฯลฯ ให้ผู้มีอำนาจของนิติบุคคลลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูก
ต้องพร้อมประทับตราสำคัญของนิติบุคคล
การตรวจสอบประวัติ
ตามที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ว่าผู้มีอำนาจต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษนั้น
คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จึงได้มีมติให้ผู้มีอำนาจของธุรกิจนำเที่ยวทุกท่าน ที่ยื่นแบบคำขอใบอนุญาตหรือ แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะต้องตรวจสอบประวัติ โดยสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
1. ใช้เอกสารบันทึกแนบท้ายแบบคำ ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
1.1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2 แห่งที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้การรับรอง
1.2 ให้สมาคมธุรกิจนำเที่ยวที่เกี่ยวข้อง (กรณีเป็นสมาชิก) ให้การรับรอง
2. ถือหนังสือที่ ททท. ออกให้ไปติดต่อด้วยตนเองที่สถานีตำรวจที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่และรับ เอกสารใบรับของ เจ้าหน้าที่ตำรวจคืน
จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เอกสารตรวจสอบประวัติในข้อ 1 หรือ 2 ให้นำไปยื่นไม่เกินวันรับใบอนุญาต หากไม่ส่งมอบภายในเวลาที่กำหนดจะมีผลต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวฉบับต่อไป หากเลือกใช้วิธีที่ 1 จะต้องกระทำใหม่ทุกครั้งที่ยื่นต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 

ความรู้ทั่วไปการจัดตั้งบริษัทใน 7 ขั้นตอน



ผู้ประกอบการมือใหม่หลายๆคน มักคิดว่าการดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยากเกินความสามารถ จึงเลือกที่จะไปว่าจ้างบริษัทหรือบุคคลที่มีความรู้เฉพาะทางมาดำเนินการแทน ทั้งที่จริงๆแล้วขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทนั้นก็ไม่ได้มีวิธีที่ซับซ้อนแต่อย่างใด และถ้าหากท่านสามารถดำเนินการเองได้ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการว่าจ้างไปได้อีกด้วย การจัดตั้งบริษัทจะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไปหากปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ผู้เริ่มก่อการสามารถจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทพร้อมกันภายในวันเดียวกันได้
ขั้นแรกผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทต้องคิดชื่อบริษัทขึ้นมาเพื่อใช้ในการจอง ซึ่งชื่อที่ตั้งมานั้นต้องไม่พ้องหรือคล้ายคลึงกับบริษัทซึ่งจดทะเบียนไปแล้ว
การจองนั้นจะเปิดให้จองได้ 3 ชื่อ โดยนายทะเบียนจะพิจารณาชื่อตามลำดับจากแรกไปท้าย ดังนั้นท่านต้องเอาชื่อที่อยากได้ที่สุดไว้อันดับแรก จากนั้นก็ไปลงทะเบียนจองชื่อ โดยทำได้สองวิธีด้วยกัน คือ
  1. ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียนด้วยตนเอง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ หรือถ้าเป็นต่างจังหวัดก็ให้ไปที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
  2. จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่ www.dbd.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเอง
เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าชื่อดังกล่าวไม่ขัดกับข้อกำหนด ก็จะแจ้งกลับมาว่ารับจองชื่อแล้ว จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงเจตน์จำนงในการขอจัดตั้งบริษัท เนื้อความในหนังสือจะประกอบไปด้วย ชื่อบริษัทที่จองไว้ (โดยมีคำว่า “บริษัท” นำหน้า และคำว่า “จำกัด” ต่อท้าย) ที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนทุน จำนวนหุ้น ราคาหุ้น (ขั้นต่ำหุ้นละ 5 บาท) และข้อมูลผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ซึ่งจำนวนผู้ก่อการนี้กฎหมายบังคับว่าต้องมีอย่างน้อย 3 คน
การยื่นหนังสือบริคณห์สนธิจะต้องทำภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีนายทะเบียนแจ้งรับจองชื่อ หากผู้เริ่มก่อการเกิดชะล่าใจจนเลยกำหนดก็จะต้องเสียเวลาดำเนินการใหม่ตั้งแต่ต้น

ผู้เริ่มก่อการแต่ละคนอาจซื้อหุ้นมากน้อยต่างกัน แต่ทุกคนจะต้องมีอย่างน้อยคนละหนึ่งหุ้น นอกจากนี้ผู้ที่มาซื้อหุ้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เริ่มก่อการเสมอไป แต่อาจเป็นบุคคลอื่นที่สนใจอยากเข้าร่วมธุรกิจดังกล่าวก็ได้ 
เมื่อมีผู้ตกลงซื้อหุ้นของบริษัทจนครบแล้ว ก็จะมีการออกหนังสือนัดจัดการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่งวันที่นัดประชุมนั้นจะต้องห่างจากวันที่ออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน

หากดำเนินการด้วยตนเองก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลงไปอีกเพราะไม่ต้องเสียเวลาติดต่อประสานงานกับบริษัทว่าจ้างจัดตั้งบริษัท
ในการประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชื่อทั้งหมด (สามารถมอบฉันทะได้) และนับจำนวนหุ้นรวมกันแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด ซึ่งวาระในการประชุมจะประกอบด้วย
  1. ทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท
  2. เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ
  3. เลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงิน (บริษัทต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีไม่ได้)
  4. รับรองสัญญาที่ผู้เริมก่อการทำขึ้นก่อนที่บริษัทจะจัดตั้ง เพราะผู้ริเริ่มกิจการอาจจะไปทำสัญญาอะไรบางอย่างไว้เพื่อประโยชน์ของบริษัท เช่น ไปทำสัญญาเช่าอาคารไว้เพื่อไว้เป็นที่ทำการของบริษัท หรือไปทำสัญญาซื้อวัตถุดิบ หรือจ้างพนักงานไว้ สัญญาเหล่านี้จะยังไม่มีผลผูกพันบริษัท เนื่องจากบริษัทยังไม่ได้จัดตั้ง ผู้ริเริ่มกิจการยังต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวอยู่ ดังนั้นจึงต้องนำสัญญาเหล่านี้มาเสนอให้ที่ประชุมตั้งบริษัทอนุมัติ เพื่อจะได้มีผลผูกพันต่อไป
  5. กำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ริเริ่มกิจการ สำหรับกิจการต่างๆ ที่ผู้เริ่มก่อการได้กระทำไปในช่วงก่อนจดทะเบียนบริษัท โดยถือว่าเป็นค่าตอบแทนค่าเหนื่อยของผู้เริ่มก่อการ ซึ่งค่าตอบแทนนี้จะต้องอนุมัติโดยที่ประชุมจัดตั้งบริษัท
  6. กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ (หุ้นที่ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าหุ้นสามัญ เช่น ได้ปันผลมากกว่า หรือหากเลิกกิจการก็จะมีสิทธิได้ทรัพย์สินก่อน แต่ผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงหรือรับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท) หรือหุ้นสามัญที่ชำระด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน บางบริษัทอาจจะมีหุ้นบุริมสิทธินอกเหนือจากหุ้นสามัญ หรืออาจจะมีหุ้นสามัญแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีบางส่วนที่ชำระด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องมาทำความตกลงอนุมัติในที่ประชุมตั้งบริษัทนี้เช่นกัน


คณะกรรมการจะทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาจริง เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว กรรมการก็จะเป็นผู้จัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีการประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป ต้องจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่อีกครั้ง

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนตั้งบริษัท คิดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำ 5,000 แต่ไม่เกิน 250,000
ค่าธรรมเนียมต่างๆในขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้
  1. ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากจำนวนทุนแสนละ 50 บาท เศษของแสนให้คิดเป็นแสนบาทเลย ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงคือ 25,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนตั้งบริษัท คิดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท แต่ขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท (เศษของแสนคิดเป็นแสนเช่นเดียวกับค่าลงทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ)
  3. หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  5. รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
  6. รับใบสำคัญและหนังสือรับรอง
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรองแล้ว ก็เป็นอันว่าบริษัทได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ โดยสมบูรณ์ทุกประการ
เดิมขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดจะกินเวลาไม่ต่ำกว่า 9 วัน แต่หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทในบางประเด็น ว่า ‘หากการประชุมตั้งบริษัทมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้พิจารณาในที่ประชุมนั้น ผู้เริ่มก่อการสามารถจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทพร้อมกันภายในวันเดียวกันได้’
จากการปรับปรุงกฎหมายที่ว่า ทำให้การดำเนินการมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น และถ้าหากดำเนินการด้วยตนเองก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลงไปอีกเพราะไม่ต้องเสียเวลาติดต่อประสานงานกับบริษัทว่าจ้างจัดตั้งบริษัท อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็อย่าลืมลองนำ 7 ขั้นตอนนี้ไปใช้เพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทของคุณดู

ความรู้ทั่วไปแนวคิด

แนวคิดธุรกิจ SME
1. เดินให้เร็วกว่าคู่แข่ง 1 ก้าว แม้ว่าแนวคิดนี้จะแนะนำให้เดินนำหน้าคู่แข่ง 1 ก้าว แต่ว่าการเดินนำล้ำหน้าคนอื่นหลาย ๆ ก้าวก็จะดีไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจะต้องตั้งปณิธานและกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีแนวคิดในการทำงานที่ล้ำหน้าคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีหน้าที่ใดในองค์กรจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และความตั้งใจในการทำงานเพื่อให้มีผลงานใหม่ ๆ ให้คู่แข่งตาค้างเสมอ โดยเฉพาะความล้ำหน้าในสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าองค์กรของคุณเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ๆ หรือไม่หากธุรกิจใดก็ตามไม่ได้มีเป้าหมาย ในเรื่องนี้ที่ชัดเจน ก็ต้องตกอยู่ในภาวะจำยอมเป็นผู้ตามคนอื่นเสมอ ลองคิดดูว่าการเป็นผู้ตามในตลาดใดตลาดหนึ่ง ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียเชิงการตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญมีข้อแนะนำว่าการเป็นผู้นำเพื่อให้คนอื่นวิ่งตามนั้น คุณจะ ต้องวิ่งหนีคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก สิ่งที่ทำ ๆ กันก็จะมีคู่แข่งทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อถึงเวลาที่ใครก็ตามเติบโตจนกลายเป็นผู้นำก็จะกลายเป็นคนที่ขี่หลังเสือที่ต้องระวังอยู่ตลอดเวลา มิให้ ตกจากหลังเสือ 2.สร้างจุดเด่นให้เห็นความแตกต่าง ข้อนี้ก็สืบเนื่องจากการเป็นผู้นำในข้างต้น เพราะถ้าต้องยืนอยู่ในตำแหน่งผู้นำตลาด สิ่งสำคัญจะต้องสร้างจุดเด่นด้านต่าง ๆ เพื่อให้แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในตลาด โดยทั่วไปแล้วผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญกับความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ความเป็นผู้นำจะต้องมีความแตกต่างในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การให้บริการ การพัฒนาบุคลากร ภาพลักษณ์ขององค์กร ฯลฯอย่างไรก็ตาม เห็นว่าการสร้างความแตกต่างนั้นมีการพูดกันบ่อยมาก แต่จะทำให้ชัดเจนได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและตั้งใจของแต่ละคน ที่สำคัญไม่ควรใช้มุมมองของตนเองมองความแตกต่าง แต่ต้องให้ลูกค้าเป็นคนตัดสินใจว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นแตกต่างหรือเหมือนกับชาวบ้าน ซึ่งจะส่งผลต่อความ ล้มเหลวและความสำเร็จต่อธุรกิจนั้นๆ 3.คิดและทำในสิ่งที่เป็นไปได้ มีข้อแนะนำว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ควรคิดเล็กแล้วทำใหญ่ หรือคิดใหญ่หรือทำเล็กเหมือนอย่างที่คนอื่น ๆ เขาทำกัน แต่ควรทำในสิ่งที่เป็นไปได้และเกิดประโยชน์ต่อลูกค้าและธุรกิจ เนื่องจากมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเลยที่ทำในสิ่งที่เกินกำลัง ผลที่ตามมาก็คือ ไปไม่ไหวก็ต้องพับเสื่อกลับบ้านเก่าไป รวมทั้งผู้ที่ทำในสิ่งที่อยู่ในฝัน ผลที่ตามมาก็คือ ความฝันย่อมเป็นความฝันอยู่เสมอ แต่การทำธุรกิจในยุคนี้จะต้องทำในสิ่งที่เป็นไปได้ และตรงกับความต้องการของลูกค้า เพราะสิ่งที่ลูกค้าต้องการถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นอย่าคิดทำในสิ่งที่คนอื่นเขาทำแต่เราไม่สามารถทำได้อย่างเด็ดขาด แต่จงคิดและทำในสิ่งที่เป็นไปได้ ที่สำคัญลูกค้าต้องยอมรับได้ด้วย 4.การบริหารภาพลักษณ์ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทุกธุรกิจจำเป็นต้องทำก็คือ การบริหารและจัดการเรื่องภาพลักษณ์ ของธุรกิจให้เป็นผู้ที่ยอมรับของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพราะหากเป็นผู้นำ สร้างสรรค์ให้แตกต่าง และทำในสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ลูกค้าไม่ยอมรับเพื่อสร้างปัญหาให้สังคมในด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่ส่งผลดีต่อองค์กรเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากการทำธุรกิจในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน สิ่งที่เป็นผลลบและผลบวกสามารถกระจายข่าวได้อย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นภาคธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารภาพลักษณ์ให้ดูดีอยู่เสมอ

ความคิดริเริ่ม ประกอบธุรกิจส่วนตัว เพื่อเตรียมจดทะเบียนบริษัท

"สำหรับใครหลายๆคนที่กำลัง มีความคิดที่จะ ประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยเนื่องอาจมีเหตุผล เช่น มีเพื่อนเป็น จัดซื้อ มี คนรู้จักที่จะคอยหยิบยื่นงาน ออกมาให้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีโดยที่เราไม่ได้นับการเริ่มต้นทำธุรกิจ จาก 0 อาจจะเริ่มนับ ที่ 2,3,4,5 เลย แต่อย่าลืมว่าเราเองก็ต้องรู้จักการหา ลูกค้าได้ด้วยตัวเอง เพราะสักวัน เราอาจไม่ได้รับการสนับสนุน จาก เพื่อนหรือคนรู้จักแต่เราจะต้องยืนได้ด้วย ความสามารถของเรานะครับ การที่จะมีบริษัท การจดทะเบียนบริษัท นั้นไม่ใช้เรื่องยาก เอกสารครบ ผู้ก่อตั้งลงนามเรียบร้อย วันเดียวก็สามารถ จดทะเบียนบริษัท ได้แล้ว ไม่ยากเลย แต่การจะดูแล บริหาร ให้บริษัทเราคงอยู่ได้นั้น ต้องอาศัย ความอดทน ความสามารถ ในการแก้ปัญหา จิตใจที่เข้มแข็ง เวลาที่คุณเจออุปสรรค ต้องไม่ย่อท้อ หรือหนี้ปัญหา ไม่เช่นนั้นคุณก็จะไม่ต่างอะไร กับผู้ที่มีความคิดเป็นลูกจ้าง เราต้องแลก ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้ง เวลา ความคิด แรงกายแรงใจ ความทุ่มเท เพื่อธุรกิจเราเอง ขยันก็ได้เรา ขี้เกียจก็ได้เราไม่มีใครบังคับ สุดท้าย ผู้บริหารที่ดี คือ ผู้ที่แก้ปัญหาได้เก่ง ทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ใครที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดให้ กับ กิจการของตัวเองได้ดีกว่ากัน"
ส่วนใครที่เป็นลูกจ้าง พนักงานประจำ ผมแนะนำว่าคุณควรจะมีความคิดบวก คิดดีทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย ให้ดีที่สุด รีบเก็บเกี่ยวประสบการณ์ รายละเอียด จากงานที่ทำให้เร็วที่สุด ทุกคนต้องการเจริญก้าวหน้าทางหน้าที่กันทุก คน เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เรียกว่า การลงทุนกับตัวเอง คนเก่ง คนดี คนทุ่มเทกับงาน ย่อมเป็นที่หมาย ปองต้องการของนายจ้างเสมอ ไม่ใช้มัวแต่คิดลบ เช่น ทำไม่เจ้าของได้เยอะ เราได้แค่เนี๊ย เราจะมองเห็นแค่ด้านเดียว ผมจะบอกว่าเวลานายจ้างเสียหาย หรือขาดทุนเค้าไม่บอกคุณหรอกครับ เราจะมองเห็นว่าเค้ากำไรเยอะ เป็นไงครับ พอ รู้กำไรเยอะ ก็อยากทำเอง แล้วก็ล้มไม่เป็นท่า จะกลับมาหานาย ก็ไม่กล้าสู้หน้า เอาไว้ให้พร้อมนะครับ แล้วมาติดต่อ จาก บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด จดทะเบียนบริษัทให้ ผมยินดีให้คำปรึกษา ทุกอย่างที่คุณควรจะทราบ
บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ให้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ทั่วประเทศ อาธิ เช่น รับจดทะเบียนบริษัท สมุทรปราการ รับจดทะเบียนบริษัทสมุทรสาคร รับจดทะเบียนบริษัทสมุทรสงคราม รับจดทะเบียนบริษัทปทุมธานี รับ จดทะเบียนบริษัทนนทบุรี รับจดทะเบียนบริษัทนครปฐม รับจดทะเบียนบริษัทอยุธยา รับจดทะเบียนบริษัทชลบุรี รับ จดทะเบียนบริษัทระยอง รับจดทะเบียนบริษัทสระบุรี รับจดทะเบียนบริษัทนครนายก รับจดทะเบียนบริษัทปราจีนบุรี รับจดทะเบียนบริษัท ฉะเชิงเทรา รับจดทะเบียนบริษัทราชบุรี

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรโมชั่น



พิเศษ !!!  สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
  • ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
ความคิดริเริ่มประกอบธุรกิจส่วนตัวเพื่อเตรียมจดทะเบียนบริษัท
"สำหรับใครหลายๆคนที่กำลัง มีความคิดที่จะประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยเนื่องอาจมีเหตุผล
เช่น มีเพื่อนเป็นจัดซื้อมีคนรู้จักที่จะคอยหยิบยื่นงาน ออกมาให้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีโดยที่เรา
ไม่ได้นับการเริ่มต้นทำธุรกิจ จาก 0 อาจจะเริ่มนับ ที่ 2,3,4,5 เลย แต่อย่าลืมว่าเราเองก็ต้อง
รู้จักการหาลูกค้าได้ด้วยตัวเอง เพราะสักวัน เราอาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนหรือคนรู้
จักแต่เราจะต้องยืนได้ด้วยความสามารถของเรานะครับ การที่จะมีบริษัท การจดทะเบียนบริษัท
นั้นไม่ใช้เรื่องยาก...อ่านต่อ"
บริการงานด้านจดทะเบียน
  • รับจดทะเบียน: บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ใบทะเบียนพาณิชย์, มูลนิธิ, สมาคม, จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • , ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ฯลฯ
  • จดแก้ไขเปลี่ยนแปลง: จดแจ้งย้ายที่ตั้งบริษัท จดเพิ่มสาขา จดเปลี่ยนตราสำคัญ จดเปลี่ยนชื่อ จดกรรมการ 
  • เข้า-ออก จดเพิ่มทุนจดทะเบียน จดแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ ฯลฯ
  • จดทะเบียนเกี่ยวกับสินค้า: จดเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร จดลิขสิทธิ์
บริการงานด้านบัญชีและภาษี
  • งานวางระบบ: ระบบบัญชี ระบบสต๊อกสินค้า บัญชีต้นทุนการผลิต วางแผนชำระภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมาย
  • กำหนด
  • งานจัดทำบัญชี: รับทำบัญชีรายเดือน บัญชีเงินเดือน ปิดงบการเงิน จัดทำงบเพื่อส่งผู้บริหาร โดยผู้ทำบัญชี
  •  (CPD)
  • งานตรวจสอบ: รับตรวจสอบภายใน ตรวจงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
บริการงานด้านขอใบอนุญาต ร่างสัญญาแปลและรับรองเอกสาร
บริการงานด้าน จัดอบรมสัมนาเชิงวิชาการ
สินค้าและบริการด้านอื่นๆ